วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต


เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

  1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์   

  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้

http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.gif

1.1ความหมายของระบบเครือข่าย

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image002.jpg
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มา
เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่าง
เครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น


ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น6ประเภท

1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน 
การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

 2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล

3 WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย

 4 อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี    อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ   โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค     นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ  ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้   อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม  เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของข้อมูล 

5 อินทราเน็ต (Intranet) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล
  ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ,อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่าง ๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง

6 เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม
    เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้

1.3การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

1 อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

1.1แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card : NIC)
      หรือนิยมเรียกกันว่า แลนการ์ด(Lan Card) ใช้สำหรับต่อสายนำสัญญาณของระบบเครือข่าย ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสารส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายได้

รูปแสดงตัวอย่าง แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ PCI
 ฮับ (HUB) มีหน้าที่ในการจัดการสัญญาณที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ กระจายสัญญาณต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทุกเครื่อง หากมีการส่งสัญญาณพร้อม ๆ กันจะทำให้ความเร็วของการส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายลดลง ดังนั้น HUB จึงไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีปัญหาเรื่องความเร็วในการสื่อสาร
สวิตช์ (Switch) จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า Hub โดยที่อุปกรณ์ Switch จะทำงานในการ รับ-ส่งข้อมูล ที่สามารถส่งข้อมูลจากพอร์ตหนึ่งของอุปกรณ์ ไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งข้อมูลไปหาเท่านั้น ซึ่งจากหลักการทำงานในลักษณะนี้ ทำให้พอร์ตที่เหลือของอุปกรณ์ Switch ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่งข้อมูลนั้น สามารถทำการ รับ-ส่งข้อมูลกันได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ในปัจจุบันอุปกรณ์ Switch จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายมากกว่า ฮับ (Hub)
รูปแสดงตัวอย่าง สวิตช์ (Switch)
โมเด็ม (Modem)

    โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem

ที่มารูปภาพ: http://www.itdestination.com/articles/lancard1000base/
เราเตอร์ (Router)

     เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้





ที่มารูปภาพ: http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/NetWork/bridge.htm

 สายนำสัญญาณ (Cable)
              สายคู่บิดเกลียว (Twisted – Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็นำสายทั้งสองมาถักกันเป็นเกลียวคู่ เพื่อช่วยลดสัญญาณรบกวนภายในสาย สายคู่บิดเกลียวมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
  สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์                                                          
(Unshielded Twisted –Pair Cable :UTP)
 สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์                                                         
(Shielded Twisted –Pair Cable :STP)
                   สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
 สายโคแอกเชียลประกอบด้วยสายทองแดงจะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติก จากนั้นก็จะมีชิลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสายโคแอกเชียลที่เห็นได้ทั่วๆไป คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศโทรทัศน์ที่ใช้ตามบ้าน
 สายไฟเบอร์ออปติค (Fiber Optic)
                 สายไฟเบอร์ออปติคหรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้คลื่นแสงส่งผ่านไปยังตัวกลางใยแก้ว มีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก ทำให้สามารถส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูงและได้ระยะทางที่ไกลขึ้น

2 การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

ปัจจุบันมี2แบบหลักๆคือ
  2.1การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้   หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ใน
ระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แวยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เพราะถ้ามีคอมพวเตอร์แค่สองเครื่อง ก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้ (cross line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าากันโดยตรงได้แต่ถ้ามีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตช์หรือฮับด้วย โดยในกรณีที่เครือข่ายไม่ใหญ่นักควรเลือกใช้ฮับเนื่องจากสวิตช์มีราคาแพง
  2.2 การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล  จากข้อจำกัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า100เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกสำหรบระบบเครือข่ายระยะไกล ดังนี้
       แบบที่หนึ่ง  การติดตั้งเครื่องทวนสญญาณไว้ทุกๆระยะขอเครือข่ายระยะไกล
       แบบที่สอง  การใช้โมเด็นหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเพื่อติดต่อสื่อสารกันในระบบเครือข่ายระยะไกล
       แบบที่สาม  การใช้สายแก้วนำแสงในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
       แบบที่สี่      การใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สายในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
       แบบที่ห้า    การใช้เทคโนโลยี G.SHDSL  ในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
       แบบที่หก    การใช้เทคโนโลยีแบบ ethernet over VDSL ในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล


1.3 การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบครือข่ายขนาดเล็ก

       คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
       - ระบบปฎิบัติการลีนุกซ์  เซ็นต์โอเอส
       - ระบบปฏิบัติการ Windows Server


2.อินเทอร์เน็ต 
2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง 
โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง  ดังรูป


อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี 1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อ
การสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
2.2บริการบนอินเตอร์เน็ต
 การบริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตมีอยู่มากมายขึ้นอยู่กับผู้ใช้บริการแต่ละบุคคลจะเลือกนำไปใช้  แต่ละบุคคลเมื่อเดินมาท่องโลกบนอินเทอร์เน็ตจะมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน  และจะเลือกบริการให้เหมาะสมกับงานหรือตามจุดประสงค์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตควรจะทำความเข้าใจถึงบริการดังต่อไปนี้
     1.เครือข่ายใยแมงมุม(www)
        การเชื่อมโยงเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วโลกคล้ายกับใยแมงมุม
        ลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล  คือ  การเชื่อมโยงเอกสาร หรือ ที่เรียกว่า Link จากเอกสารภายในหน้าเดียวกัน  เชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆหรือไปยังเว็บไซต์อื่นๆได้โดยการเชื่อมโยงในลักษณะของข้อความ หรือไฮเปอร์เท็กซ์ และสื่อประสมต่างๆ

    2.โดเมนเนม(Domain Name)
       โดเมนเนม หรือที่เราเรียกว่า ที่อยู่ของเว็บไซต์ เป็นชื่อที่ถูกการเรียกแทนหมายเลข IP  Address เนื่องจากเกิดความยุ่งยากในการจำหมายเลข เวลาที่ต้องการท่องเที่ยวในอินเทอรืเน็ตจึงได้นำตัวอักษรมาใช้แทน  มักเป็นชื่อที่มีสื่อความหมายเป็นหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้น ชื่อของโดเมนเนมแต่ละชื่อจะอยู่หนึ่งเดียวเท่านั้น
    3. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์
         บริการหนึ่งที่ได้รับการนิยมมาก  เพราะเป็นวิธีติดต่อที่เป็น
มาตรฐาน  สามารถจะรับและส่งเอกสารที่เป็นเอกสารที่เป็นเอกสาร
ข้อความและเป็นเอกสารเเบบมัลติมีเดียมีทั้งภาพและเสียงโดยสามารถสื่อสารกันได้ไม่ว่าผู้รับหรอผู้ส่งจะอยู่ไกลหรือใกล้เพียงใดก็ตาม  บุรุษไปรษณีย์จะทำหน้าที่ส่งจดหมายให้กับเรา  คือ เว็บไซต์ที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิก  เพื่อขอใช้บริการ  เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยเเล้ว  จะได้ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น  ที่เรียกว่า E-mail  Address 
              5.การบริการใช้เครื่องข้ามเครือข่าย  Telnet
       การบริการใช้เครือข่ายด้วย  Telenet เป็นบริการที่ช้วยให้เราสามารถล็อกอินเข้าไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลได้  เสมือนกับเราใช้งานเราหน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ  และสามารถสั่งให้เครื่องปฏิบัติงานตามคำสั่ง  หรือโปรแกรมจากเครื่องของเราได้ การแสดงผลลัพท์ของโปรแกรมนั้น  ส่วนใหญ่จะแสดงรูปของข้อความ จึงจะได้ล็อกอิน  และรหัสผ่าน  เพื่อเปิดประตูไปใช้บริการระบบนี้  บริการTelnet สามารถค้นหาข้อมูล  และการโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันไป
              6.การบริการค้นหาข้อมูลข้ามเครือข่าย
       การค้นหาข้อมูลเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ต  เป็นอีกบริการหนึ่งที่นิยมมาก  เพราะอำนวยการให้แก่ผู้ใช้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลอยู่ป็นจำนวนมาก  ดั้งนั้นการค้นหาข้อมูลจำเป็นต้องมีโปรแกรมเพื่อให้ทราบแหล่งที่อยู่ข้อมูล       
               7.การบริการสนทนาออนไลน์(Chat)
        การบริการสนทนาออนไลน์  หรือที่เรียกว่า แชท เป็นการสนทนาระหว่างบุคคลที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต  มีการโต้ตอบกันทีนที่  โดยไม่ต้องการรอคำตอบเหมือนการใช้อีเมล์พิมพ์ข้อความ  หรือใช้เสียงในการสนทนาได้  การสนทนาสามารถกระทำได้ในกลุ่มสนทนา  เป็นการเเลกเปลี่ยความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  ปัจจุบันนี้ได้นำวิธีการสนทนาออนไลน์มาประยุกต์ใช้ประชุมทางไกลโดยใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งภาพ  ไมโครโฟน  เป็นต้น
              8.กระดานข่าว(Bulletin  Board  System:BBS)
        กระดานข่าว  เป็นบริกาในรูปแบบของกล่มสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆในกล่มของผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน โดยจะต้งเป็น " กลุ่มข่าว (News Group)" เช่น กลุ่มผู้ที่สนใจด้านคอมพิวเตอร์  ด้านดนตรี  ด้านศิลปะ  หรือแม้กระทั่งแบ่งต่างกลุ่มอาชีพและกล่มอายุก็ได้  เช่น กล่มนักเรียนนักศึกษา  กลุ่มผู้หญิงทำงาน  เป็นต้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจที่จะใช้บริการเลือกกลุ่มเข้าไปสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เป็นเวทีให้แสดงความคิดเห็นหรือเมื่อต้องการสอบถามในเรื่องที่สงสัยและต้องการคำตอบ  ผู้ที่อยู่ภายในกลุ่มให้คำแนะนำ หรือตอบข้อสงสัยได้ ทำให้เราได้รับประโยชน์และได้ความรู้ใหม่ๆ
              9.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-commerce)
         เป็นระบบการค้าที่มีการซื้อขาย  ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  โลกยุคดิจิทัล  ระบบการค้ามิได้ยึดรูปแบบเดิมๆ คือต้องหาทำเล  เพื่อตั้งร้านค้า  หรือหาพนักงานในการดำเนินการค้าแต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการสื่อสาร  จะทำได้สะดวก  รวดเร็ว  ประหยัดกว่ารูปแบบเดิม  สามารถดำเนินการค้าได้ไม่เฉพาะ แต่ภายในประเทศ  หรือในเขตที่ตั้งร้านเท่านั้น  แต่สามารถค้าขายได้กับทุกคน  นอกจากนั้นเป็นวิธีทำการค้าตลอดเปิดตลอด  24  ชั่วโมง  เพียงแต่อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็สามารถซื้อขายสินค้าได้  ดั้งนั้นหน้าจอคอมพิวเตอร์จึงเปรียบเสมือนประตูที่เปิดสู่โลกกว้าง


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินตอร์เน็ต
จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถสรุปได้ 4 ประเด็น ได้แก่
  1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึงสิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
- การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
- การใช้เทคโนโลยีในกาติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน
- การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
- การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่ขึ้นมาแล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งคือความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
          ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศมักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงเครื่องเดียว ในขณะที่บางโปรแกรมอนุญาตให้ใช้ได้หลายเครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมให้กับบุคคลอื่น เป็นการกระทำที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าท่านมีสิทธิในโปรแกรมนั้นในระดับใด
    4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
คือการป้องกันการเข้าไปดำเนินการกับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบเช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกัน หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

จรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
1. ให้ระมัดระวังการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
2. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
3. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
4. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ

บัญญัติ 10 ประการ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องมีจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
7. ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
8. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
9. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
10. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ

http://learn.wattano.ac.th

http://www.learners.in.th/blogs/posts/445979

http://www.nattapon.com

หนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารม.5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น