วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตอบคำถามหลักปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ต

  คำถาม : นักเรียนมีหลักปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง
และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่นและสังคม
 
  ตอบ: ใช้หาข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่าย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นที่ใช้บริการเครือข่าย และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึงจะส่งผลให้สังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข
    1.จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีความสุข
       1.1 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์
       ทุกคนมีอีเมลแอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ ความรับผิดชอบต่อการใช้อีเมลระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญ
      1.2จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนาผ่านเครือข่าย
      ในการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้สนทนาจะต้องมีมารยาทต่อผู้สนทนา
      1.3จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าวหรือกระดานสนทนา
       -เขียนเรื่องให้กระชับ ตรงไปตรงมา
       -ไม่ละเมิอสิทธิหรือสร้างความเสียหายแก้ผู้อื่น
       -ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์
       -ไม่ควรสร้างข้อความเท็จเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
       -ไม่ควรใช้เครือข่ายส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
  2.บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์
    1.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
    2.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
    3.ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติื
    4.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์โจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
    5.ไม่ใช่คอมสร้างหลักฐานเท็จ
    6.ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่น
    7.ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนไม่มีสิทธิ์
    8.ไม่นำผลงานคนอื่นมาเป็นของตน
    9.คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมจากการกระทำของเรา
    10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกาและมารยาทของสังคม
     

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต


เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

  1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์   

  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้

http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.gif

1.1ความหมายของระบบเครือข่าย

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image002.jpg
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มา
เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่าง
เครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น


ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น6ประเภท

1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน 
การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

 2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล

3 WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย

 4 อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี    อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ   โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค     นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ  ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้   อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม  เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของข้อมูล 

5 อินทราเน็ต (Intranet) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล
  ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ,อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่าง ๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง

6 เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม
    เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้

1.3การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

1 อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

1.1แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card : NIC)
      หรือนิยมเรียกกันว่า แลนการ์ด(Lan Card) ใช้สำหรับต่อสายนำสัญญาณของระบบเครือข่าย ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสารส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายได้

รูปแสดงตัวอย่าง แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ PCI
 ฮับ (HUB) มีหน้าที่ในการจัดการสัญญาณที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ กระจายสัญญาณต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทุกเครื่อง หากมีการส่งสัญญาณพร้อม ๆ กันจะทำให้ความเร็วของการส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายลดลง ดังนั้น HUB จึงไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีปัญหาเรื่องความเร็วในการสื่อสาร
สวิตช์ (Switch) จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า Hub โดยที่อุปกรณ์ Switch จะทำงานในการ รับ-ส่งข้อมูล ที่สามารถส่งข้อมูลจากพอร์ตหนึ่งของอุปกรณ์ ไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งข้อมูลไปหาเท่านั้น ซึ่งจากหลักการทำงานในลักษณะนี้ ทำให้พอร์ตที่เหลือของอุปกรณ์ Switch ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่งข้อมูลนั้น สามารถทำการ รับ-ส่งข้อมูลกันได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ในปัจจุบันอุปกรณ์ Switch จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายมากกว่า ฮับ (Hub)
รูปแสดงตัวอย่าง สวิตช์ (Switch)
โมเด็ม (Modem)

    โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem

ที่มารูปภาพ: http://www.itdestination.com/articles/lancard1000base/
เราเตอร์ (Router)

     เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้





ที่มารูปภาพ: http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/NetWork/bridge.htm

 สายนำสัญญาณ (Cable)
              สายคู่บิดเกลียว (Twisted – Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็นำสายทั้งสองมาถักกันเป็นเกลียวคู่ เพื่อช่วยลดสัญญาณรบกวนภายในสาย สายคู่บิดเกลียวมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
  สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์                                                          
(Unshielded Twisted –Pair Cable :UTP)
 สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์                                                         
(Shielded Twisted –Pair Cable :STP)
                   สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
 สายโคแอกเชียลประกอบด้วยสายทองแดงจะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติก จากนั้นก็จะมีชิลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสายโคแอกเชียลที่เห็นได้ทั่วๆไป คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศโทรทัศน์ที่ใช้ตามบ้าน
 สายไฟเบอร์ออปติค (Fiber Optic)
                 สายไฟเบอร์ออปติคหรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้คลื่นแสงส่งผ่านไปยังตัวกลางใยแก้ว มีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก ทำให้สามารถส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูงและได้ระยะทางที่ไกลขึ้น

2 การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

ปัจจุบันมี2แบบหลักๆคือ
  2.1การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้   หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ใน
ระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แวยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เพราะถ้ามีคอมพวเตอร์แค่สองเครื่อง ก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้ (cross line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าากันโดยตรงได้แต่ถ้ามีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตช์หรือฮับด้วย โดยในกรณีที่เครือข่ายไม่ใหญ่นักควรเลือกใช้ฮับเนื่องจากสวิตช์มีราคาแพง
  2.2 การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล  จากข้อจำกัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า100เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกสำหรบระบบเครือข่ายระยะไกล ดังนี้
       แบบที่หนึ่ง  การติดตั้งเครื่องทวนสญญาณไว้ทุกๆระยะขอเครือข่ายระยะไกล
       แบบที่สอง  การใช้โมเด็นหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเพื่อติดต่อสื่อสารกันในระบบเครือข่ายระยะไกล
       แบบที่สาม  การใช้สายแก้วนำแสงในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
       แบบที่สี่      การใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สายในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
       แบบที่ห้า    การใช้เทคโนโลยี G.SHDSL  ในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
       แบบที่หก    การใช้เทคโนโลยีแบบ ethernet over VDSL ในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล


1.3 การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบครือข่ายขนาดเล็ก

       คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
       - ระบบปฎิบัติการลีนุกซ์  เซ็นต์โอเอส
       - ระบบปฏิบัติการ Windows Server


2.อินเทอร์เน็ต 
2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง 
โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง  ดังรูป


อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี 1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อ
การสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
2.2บริการบนอินเตอร์เน็ต
 การบริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตมีอยู่มากมายขึ้นอยู่กับผู้ใช้บริการแต่ละบุคคลจะเลือกนำไปใช้  แต่ละบุคคลเมื่อเดินมาท่องโลกบนอินเทอร์เน็ตจะมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน  และจะเลือกบริการให้เหมาะสมกับงานหรือตามจุดประสงค์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตควรจะทำความเข้าใจถึงบริการดังต่อไปนี้
     1.เครือข่ายใยแมงมุม(www)
        การเชื่อมโยงเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วโลกคล้ายกับใยแมงมุม
        ลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล  คือ  การเชื่อมโยงเอกสาร หรือ ที่เรียกว่า Link จากเอกสารภายในหน้าเดียวกัน  เชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆหรือไปยังเว็บไซต์อื่นๆได้โดยการเชื่อมโยงในลักษณะของข้อความ หรือไฮเปอร์เท็กซ์ และสื่อประสมต่างๆ

    2.โดเมนเนม(Domain Name)
       โดเมนเนม หรือที่เราเรียกว่า ที่อยู่ของเว็บไซต์ เป็นชื่อที่ถูกการเรียกแทนหมายเลข IP  Address เนื่องจากเกิดความยุ่งยากในการจำหมายเลข เวลาที่ต้องการท่องเที่ยวในอินเทอรืเน็ตจึงได้นำตัวอักษรมาใช้แทน  มักเป็นชื่อที่มีสื่อความหมายเป็นหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้น ชื่อของโดเมนเนมแต่ละชื่อจะอยู่หนึ่งเดียวเท่านั้น
    3. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์
         บริการหนึ่งที่ได้รับการนิยมมาก  เพราะเป็นวิธีติดต่อที่เป็น
มาตรฐาน  สามารถจะรับและส่งเอกสารที่เป็นเอกสารที่เป็นเอกสาร
ข้อความและเป็นเอกสารเเบบมัลติมีเดียมีทั้งภาพและเสียงโดยสามารถสื่อสารกันได้ไม่ว่าผู้รับหรอผู้ส่งจะอยู่ไกลหรือใกล้เพียงใดก็ตาม  บุรุษไปรษณีย์จะทำหน้าที่ส่งจดหมายให้กับเรา  คือ เว็บไซต์ที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิก  เพื่อขอใช้บริการ  เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยเเล้ว  จะได้ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น  ที่เรียกว่า E-mail  Address 
              5.การบริการใช้เครื่องข้ามเครือข่าย  Telnet
       การบริการใช้เครือข่ายด้วย  Telenet เป็นบริการที่ช้วยให้เราสามารถล็อกอินเข้าไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลได้  เสมือนกับเราใช้งานเราหน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ  และสามารถสั่งให้เครื่องปฏิบัติงานตามคำสั่ง  หรือโปรแกรมจากเครื่องของเราได้ การแสดงผลลัพท์ของโปรแกรมนั้น  ส่วนใหญ่จะแสดงรูปของข้อความ จึงจะได้ล็อกอิน  และรหัสผ่าน  เพื่อเปิดประตูไปใช้บริการระบบนี้  บริการTelnet สามารถค้นหาข้อมูล  และการโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันไป
              6.การบริการค้นหาข้อมูลข้ามเครือข่าย
       การค้นหาข้อมูลเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ต  เป็นอีกบริการหนึ่งที่นิยมมาก  เพราะอำนวยการให้แก่ผู้ใช้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลอยู่ป็นจำนวนมาก  ดั้งนั้นการค้นหาข้อมูลจำเป็นต้องมีโปรแกรมเพื่อให้ทราบแหล่งที่อยู่ข้อมูล       
               7.การบริการสนทนาออนไลน์(Chat)
        การบริการสนทนาออนไลน์  หรือที่เรียกว่า แชท เป็นการสนทนาระหว่างบุคคลที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต  มีการโต้ตอบกันทีนที่  โดยไม่ต้องการรอคำตอบเหมือนการใช้อีเมล์พิมพ์ข้อความ  หรือใช้เสียงในการสนทนาได้  การสนทนาสามารถกระทำได้ในกลุ่มสนทนา  เป็นการเเลกเปลี่ยความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  ปัจจุบันนี้ได้นำวิธีการสนทนาออนไลน์มาประยุกต์ใช้ประชุมทางไกลโดยใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งภาพ  ไมโครโฟน  เป็นต้น
              8.กระดานข่าว(Bulletin  Board  System:BBS)
        กระดานข่าว  เป็นบริกาในรูปแบบของกล่มสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆในกล่มของผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน โดยจะต้งเป็น " กลุ่มข่าว (News Group)" เช่น กลุ่มผู้ที่สนใจด้านคอมพิวเตอร์  ด้านดนตรี  ด้านศิลปะ  หรือแม้กระทั่งแบ่งต่างกลุ่มอาชีพและกล่มอายุก็ได้  เช่น กล่มนักเรียนนักศึกษา  กลุ่มผู้หญิงทำงาน  เป็นต้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจที่จะใช้บริการเลือกกลุ่มเข้าไปสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เป็นเวทีให้แสดงความคิดเห็นหรือเมื่อต้องการสอบถามในเรื่องที่สงสัยและต้องการคำตอบ  ผู้ที่อยู่ภายในกลุ่มให้คำแนะนำ หรือตอบข้อสงสัยได้ ทำให้เราได้รับประโยชน์และได้ความรู้ใหม่ๆ
              9.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-commerce)
         เป็นระบบการค้าที่มีการซื้อขาย  ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  โลกยุคดิจิทัล  ระบบการค้ามิได้ยึดรูปแบบเดิมๆ คือต้องหาทำเล  เพื่อตั้งร้านค้า  หรือหาพนักงานในการดำเนินการค้าแต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการสื่อสาร  จะทำได้สะดวก  รวดเร็ว  ประหยัดกว่ารูปแบบเดิม  สามารถดำเนินการค้าได้ไม่เฉพาะ แต่ภายในประเทศ  หรือในเขตที่ตั้งร้านเท่านั้น  แต่สามารถค้าขายได้กับทุกคน  นอกจากนั้นเป็นวิธีทำการค้าตลอดเปิดตลอด  24  ชั่วโมง  เพียงแต่อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็สามารถซื้อขายสินค้าได้  ดั้งนั้นหน้าจอคอมพิวเตอร์จึงเปรียบเสมือนประตูที่เปิดสู่โลกกว้าง


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินตอร์เน็ต
จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถสรุปได้ 4 ประเด็น ได้แก่
  1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึงสิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
- การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
- การใช้เทคโนโลยีในกาติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน
- การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
- การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่ขึ้นมาแล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งคือความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
          ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศมักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงเครื่องเดียว ในขณะที่บางโปรแกรมอนุญาตให้ใช้ได้หลายเครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมให้กับบุคคลอื่น เป็นการกระทำที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าท่านมีสิทธิในโปรแกรมนั้นในระดับใด
    4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
คือการป้องกันการเข้าไปดำเนินการกับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบเช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกัน หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

จรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
1. ให้ระมัดระวังการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
2. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
3. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
4. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ

บัญญัติ 10 ประการ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องมีจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
7. ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
8. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
9. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
10. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ

http://learn.wattano.ac.th

http://www.learners.in.th/blogs/posts/445979

http://www.nattapon.com

หนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารม.5

ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจ


ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจ

  ระบบสารสนเทศ (Information system)


            หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ     การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร 


1.1 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 
ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ
1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)
2. ซอฟต์แวร์
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  ฮาร์ดแวร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ 

ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ 

ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ 

บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้ 

ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ 



1.2ชนิดของระบบสารสนเทศ


1) ระบบสารสนเทศสำนักงาน
   ระบบสารสนเทศสำนักงาน Office Information Systems : OIS) ใช้ในงานสำนักงาน โดยอาศัยอุปกรณ์พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ โทรสาร โมเด็ม รวมถึงระบบโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)อาจต้องใช้โปรแกรมเฉพาะด้าน เช่น CAD/CAM  

2) ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems : TPS) หรือ ระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing : EDP) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลขั้นพื้นฐานเน้นที่การประมวล ผลรายการประจำวันมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของธุรกิจเท่านั้น ใช้งานในระดับผู้บริหารระดับล่าง (Bottom Manager)ช่วยในการจัดเตรียมรายงาน จัดเตรียมข้อมูลให้กับผู้บริหารเพื่อใช้ในการพิจารณาเกิดจากการเตรียมข้อมูลในระบบTPS ข้อมูลต่าง ๆ อยู่ในรูปของข้อสรุป หรือ รายละเอียดก็ได้ใช้งานในระดับผู้บริหารระดับล่าง (Bottom Manager) และระดับกลาง (Middle Manager)

3) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ 

4)ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) พัฒนาขึ้นจากระบบ MISเป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการ เฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน (Made by order)ช่วยตัดสินใจในกรณีที่มีทางเลือก หลาย ๆ ทางมีการใช้ตัวแบบ (Model) ในการวางแผนและการทำนาย

5)ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS) สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะแยกมาจากระบบ DSSเพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญ ต่อการบริหารระดับสูงสุด จำเป็นต้องใช้ข้อมูลทั้งจากภายใน และภายนอกองค์กรออกแบบให้แสดง สารสนเทศขององค์กรโดยสรุป แต่ขณะเดียวกันสามารถดูลึกเข้าไปในรายละเอียดที่ต้องการได้


เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ


1.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของบุคคล
    ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์การ ระบบสารสนเทศระดับบุคคลนี้มีแนวทางในการประยุกต์ที่ช่วยให้การทำงานในหน้าที่รับผิดชอบและส่วนตัวของผู้นั้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพ 
    ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก แต่มีความสามาถในการประมาวผลด้วยความเร็วสูงขึ้น ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย กว้างขวางและและคุ้มค่ามากขึ้น โปรแกรมสำเร็จในปัจจุบันเริ่มมีความลงตัวและมีการรวบรวมไว้เป็นชุดโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (word processing) ที่ช่วยในการพิมพ์เอกสาร โปรแกรมช่วยทำจดหมายเวียน (mail merge) โปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำแผ่นใสเพื่อการบรรยายและทำภาพกราฟิค (presentation and graphics) โปรแกรมที่ช่วยในการทำวารสารและหนังสือ (desktop publishing) โปรแกรมตารางทำงาน (spreadsheet) โปรแกรมช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลแฟ้มข้อมูล (database management) และโปรแกรมช่วยในการสร้างตารางการบริหารงาน (project management) เป็นต้น
      ชุดโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เป็นโปรแกรมที่ได้รวบรวม โปรแกรมสร้างเอกสาร โปรแกรมจัดทำแผ่นใสหรือข้อความประกอบคำบรรยายและแผ่นประกาศ โปรแกรมประมวลผลในรูปแบบตารางทำงาน โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นต้น
     ข้อมูลที่ช่วยทำให้การทำงานของบุคลากรดีขึ้นนั้นต้องขึ้นอยู่กับหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนต่างกันไป ตัวอย่างเช่น พนักงานขายควรมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเป็นอย่างดีซึ่งจะทำให้ติดต่อค้าขายได้ผลเลิศ บริษัทควรมีการเตรียมอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เอาไว้ให้พนักงานขายได้ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ และความสนใจในตัวสินค้า หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่จะสนับสนุนการขาย พร้อมกับระบบที่จะช่วยพนักงานแต่ละคนในการเรียกค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขเพื่อวางแผน จัดการ และควบคุมการทำงานของตนเองได้ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขาย เป็นต้น


2.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของกลุ่ม
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



 การทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup) ในที่นี้หมายถึง กลุ่มบุคคลจจำนวน 2 คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โดยทั่วไปบุคลากรในกลุ่มเดียวกันจะรู้จักกันและกันและทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ เป้าหมายหลักของการทำงานเป็นกลุ่ม คือ การเตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล
แนวทางหลักก็คือการทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยเฉพาะข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐาน การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ทำให้มีการเชื่อมโยงและใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสค์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกัน ข้อมูลที่ใช้ร่วมกันในแผนกจะบรรจุไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลกลางที่เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลกลางนี้โดยผู้ใช้คนใดคนหนึ่งเมื่อใด ผู้ใช้คนอื่นที่ใช้อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ก็จะได้รับข้อมูลที่ผ่านการแก้ไขแล้วนั้นทันที

3. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจขององค์กร
   


  ระบบสารสนเทศระดับองค์การ คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์การในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่งได้ ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้จึงสามารถสนับสนุนงานการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการ และสนับสนุนงานการบริหารและจัดการในระดับที่สูงขึ้นได้ด้วย เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุป หรือในแบบฟอร์มที่ต้องการได้ บ่อยครั้งที่การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบการตัดสินใจ