คำถาม : นักเรียนมีหลักปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง
และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่นและสังคม
ตอบ: ใช้หาข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่าย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นที่ใช้บริการเครือข่าย และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึงจะส่งผลให้สังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข
1.จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีความสุข
1.1 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์
ทุกคนมีอีเมลแอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ ความรับผิดชอบต่อการใช้อีเมลระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญ
1.2จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนาผ่านเครือข่าย
ในการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้สนทนาจะต้องมีมารยาทต่อผู้สนทนา
1.3จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าวหรือกระดานสนทนา
-เขียนเรื่องให้กระชับ ตรงไปตรงมา
-ไม่ละเมิอสิทธิหรือสร้างความเสียหายแก้ผู้อื่น
-ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์
-ไม่ควรสร้างข้อความเท็จเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
-ไม่ควรใช้เครือข่ายส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
2.บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์
1.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติื
4.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์โจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ไม่ใช่คอมสร้างหลักฐานเท็จ
6.ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่น
7.ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนไม่มีสิทธิ์
8.ไม่นำผลงานคนอื่นมาเป็นของตน
9.คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมจากการกระทำของเรา
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกาและมารยาทของสังคม
information technology m.5 by kanokwan
วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้

1.1ความหมายของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มา
เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่าง
เครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
|
ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศ (Information system)
หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร
1.1 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ
1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)
2. ซอฟต์แวร์
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ฮาร์ดแวร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ
ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ
บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้
ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ
1.2ชนิดของระบบสารสนเทศ
1) ระบบสารสนเทศสำนักงาน
ระบบสารสนเทศสำนักงาน Office Information Systems : OIS) ใช้ในงานสำนักงาน โดยอาศัยอุปกรณ์พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ โทรสาร โมเด็ม รวมถึงระบบโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)อาจต้องใช้โปรแกรมเฉพาะด้าน เช่น CAD/CAM
2) ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems : TPS) หรือ ระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing : EDP) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลขั้นพื้นฐานเน้นที่การประมวล ผลรายการประจำวันมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของธุรกิจเท่านั้น ใช้งานในระดับผู้บริหารระดับล่าง (Bottom Manager)ช่วยในการจัดเตรียมรายงาน จัดเตรียมข้อมูลให้กับผู้บริหารเพื่อใช้ในการพิจารณาเกิดจากการเตรียมข้อมูลในระบบTPS ข้อมูลต่าง ๆ อยู่ในรูปของข้อสรุป หรือ รายละเอียดก็ได้ใช้งานในระดับผู้บริหารระดับล่าง (Bottom Manager) และระดับกลาง (Middle Manager)
3) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ
4)ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) พัฒนาขึ้นจากระบบ MISเป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการ เฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน (Made by order)ช่วยตัดสินใจในกรณีที่มีทางเลือก หลาย ๆ ทางมีการใช้ตัวแบบ (Model) ในการวางแผนและการทำนาย
5)ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS) สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะแยกมาจากระบบ DSSเพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญ ต่อการบริหารระดับสูงสุด จำเป็นต้องใช้ข้อมูลทั้งจากภายใน และภายนอกองค์กรออกแบบให้แสดง สารสนเทศขององค์กรโดยสรุป แต่ขณะเดียวกันสามารถดูลึกเข้าไปในรายละเอียดที่ต้องการได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
1.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของบุคคล
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์การ ระบบสารสนเทศระดับบุคคลนี้มีแนวทางในการประยุกต์ที่ช่วยให้การทำงานในหน้าที่รับผิดชอบและส่วนตัวของผู้นั้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก แต่มีความสามาถในการประมาวผลด้วยความเร็วสูงขึ้น ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย กว้างขวางและและคุ้มค่ามากขึ้น โปรแกรมสำเร็จในปัจจุบันเริ่มมีความลงตัวและมีการรวบรวมไว้เป็นชุดโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (word processing) ที่ช่วยในการพิมพ์เอกสาร โปรแกรมช่วยทำจดหมายเวียน (mail merge) โปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำแผ่นใสเพื่อการบรรยายและทำภาพกราฟิค (presentation and graphics) โปรแกรมที่ช่วยในการทำวารสารและหนังสือ (desktop publishing) โปรแกรมตารางทำงาน (spreadsheet) โปรแกรมช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลแฟ้มข้อมูล (database management) และโปรแกรมช่วยในการสร้างตารางการบริหารงาน (project management) เป็นต้น
ชุดโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เป็นโปรแกรมที่ได้รวบรวม โปรแกรมสร้างเอกสาร โปรแกรมจัดทำแผ่นใสหรือข้อความประกอบคำบรรยายและแผ่นประกาศ โปรแกรมประมวลผลในรูปแบบตารางทำงาน โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นต้น
ข้อมูลที่ช่วยทำให้การทำงานของบุคลากรดีขึ้นนั้นต้องขึ้นอยู่กับหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนต่างกันไป ตัวอย่างเช่น พนักงานขายควรมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเป็นอย่างดีซึ่งจะทำให้ติดต่อค้าขายได้ผลเลิศ บริษัทควรมีการเตรียมอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เอาไว้ให้พนักงานขายได้ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ และความสนใจในตัวสินค้า หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่จะสนับสนุนการขาย พร้อมกับระบบที่จะช่วยพนักงานแต่ละคนในการเรียกค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขเพื่อวางแผน จัดการ และควบคุมการทำงานของตนเองได้ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขาย เป็นต้น
2.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของกลุ่ม
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup) ในที่นี้หมายถึง กลุ่มบุคคลจจำนวน 2 คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โดยทั่วไปบุคลากรในกลุ่มเดียวกันจะรู้จักกันและกันและทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ เป้าหมายหลักของการทำงานเป็นกลุ่ม คือ การเตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล
แนวทางหลักก็คือการทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยเฉพาะข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐาน การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ทำให้มีการเชื่อมโยงและใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสค์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกัน ข้อมูลที่ใช้ร่วมกันในแผนกจะบรรจุไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลกลางที่เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลกลางนี้โดยผู้ใช้คนใดคนหนึ่งเมื่อใด ผู้ใช้คนอื่นที่ใช้อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ก็จะได้รับข้อมูลที่ผ่านการแก้ไขแล้วนั้นทันที
3. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจขององค์กร
ระบบสารสนเทศระดับองค์การ คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์การในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่งได้ ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้จึงสามารถสนับสนุนงานการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการ และสนับสนุนงานการบริหารและจัดการในระดับที่สูงขึ้นได้ด้วย เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุป หรือในแบบฟอร์มที่ต้องการได้ บ่อยครั้งที่การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบการตัดสินใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)